โรงเรียนบ้านบางมรวน

หมู่ที่ 5 บ้านบางมรวน-บางปูเต ตำบลบางม่วง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา 82190

47211418_103169754054080_7774315470651392000_n

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา

1082330105-20170609-121855

นางณัฐนิชา สพันธุวงศ์
ผู้อำนวยการโรงเรียน

ประวัติโรงเรียน

โรงเรียนบ้านบางมรวนเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ ตำบลบางม่วง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา มีพื้นที่ ๒๑ ไร่
๒ งาน ๐๙ ตารางวา ตามทะเบียนที่ราชพัสดุ ที่๓๔๖๘๔ พง.๓๓๐ ประกอบด้วยอาคารเรียน ป.๑ ก. ขนาด ๔ ห้องเรียน จำนวน ๒ หลัง อาคารเรียนแบบ ๐๑๗ จำนวน ๑ หลัง โรงอาหารแบบ ๓๑๒ กรมสามัญ จำนวน ๑ หลัง ส้วมแบบ๖๐๑/๒๖จำนวน ๑ หลัง ๔ ที่นั่ง

เปิดทำการสอนตามภารกิจของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่รับผิดชอบจัดการศึกษา ๒ ช่วงชั้น
และเปิดทำการสอนชั้นอนุบาล – ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ตามรายละเอียด ดังนี้

๑. ระดับก่อนประถมศึกษา เป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับเด็กกลุ่มอายุ ๔-๖ ปี ตามนโยบายและแนวปฏิบัติการรับนักเรียน ของสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้เด็กในวัยดังกล่าว ได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ตามศักยภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความพร้อมในการเข้าเรียนระดับประถมศึกษาต่อไป

๒. ระดับประถมศึกษา เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กอายุในเกณฑ์การศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ เพื่อให้เด็กวัยเกณฑ์เข้าเรียนทุกคนได้เรียนจบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในช่วงชั้นที่ ๑ และ ช่วงชั้นที่ ๒ มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะ
ที่พึงประสงค์ตามเป้าหมายของหลักสูตรโรงเรียนบ้านบางมรวน ปีพุทธศักราช ๒๕๕๑ ในช่วงชั้นที่ ๑ ป.๑ -๓ และช่วงชั้นที่ ๒ ป. ๔-๖ มีนายเกษม ไทยานนท์
ผู้จัดการบริษัทแร่และยางจำกัด และขุนเกื้อ ประศาส์น เป็นผู้ช่วยเหลือและขอที่ดินสำหรับสร้างอาคารเรียน

 

วิสัยทัศน์โรงเรียน

“ โรงเรียนได้มาตรฐาน นักเรียนคุณภาพดี มีคุณธรรม นำความรู้ มีวิสัยทัศน์ ร่วมพัฒนาท้องถิ่น ”

พันธกิจ

๑. จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตรสถานศึกษา

๒. พัฒนากระบวนการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

๓. จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามรถในการคิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์

ตัดสินใจ แก้ปัญหาได้อย่างมีสติสมเหตุสมผล

๔. จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักเรียนรู้ และ

พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

๕. ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี ในการเรียนการสอนและการบริหารจัดการ

๖. จัดกิจกรรมที่เน้นภูมิปัญญาท้องถิ่นใช้ชีวิตอย่างพอเพียง อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย

ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

๗. ส่งเสริมให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

๘. ส่งเสริมการสร้างอัตลักษณ์ของสถานศึกษาให้โดดเด่น

๙. พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง